อันนี้คือคำถาม คิดว่า Second brain จะมาช่วยอะไรเราได้บ้าง วันนี้จบคลาสก็ร้องอ๋อทันที

จากการเรียนในคอร์ส Master your Digital life with Second brain ที่อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งท่านได้ศึกษาจากแนวคิดของหนังสือ Building a Second Brain เขียนโดย Tiago Forte

  • สมองของเราหรือ First Brain ใช้สำหรับการคิดไอเดีย
  • แต่ก็ไม่ได้เอาไว้จำทุกสิ่งอย่าง อืม จริงด้วย จำก็ดี แต่ถ้าจดน่าจะดีกว่า
  • ซึ่งปัจจุบันการจดของพวกเราก็มีเป็น Digital เยอะด้วย บางทีก็ไม่ได้จดหรอก ก็ capture หน้าจอ และก็เก็บไว้ แล้วก็หาไม่เจอ 555
  • แนวคิด Second Brain ก็เหมือนสมองที่ช่วยเราจำ แต่เอามาทำให้เป็นระบบ … ระบบคือมีขั้นตอนที่ไม่ว่าใครจะทำก็สามารถทำได้ คือ ถ้่าไม่มีระบบเราก็จัดเก็บอยู่แล้ว แต่มันไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาจะทำอะไรซักอย่าง เช่น เวลาเราอยากจะเขียนบทความสักเรื่อง ก็นึกไม่ออกว่าจะเริ่มยังไง เทมเพลตไหนนะ ที่เคยเก็บไว้ เป็นต้น
  • ระบบของ Second Brain เค้าคำนึงถึง 4 เรื่อง เช่น การเอาเข้า จัดการ กลั่นกรอง และ เอาออกไปใช้งาน โดยคำนึงถึงว่า เวลาเอาไปใช้งานก็ต้องง่ายต่อตัวเราในอนาคตด้วย ไ่ม่ใช่จดๆ หรือ เก็บๆ ไว้แบบคิดว่า ตัวเองในอนาคตจะเข้าใจ เค้าก็เลยทำออกมาเป็น ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ที่มีตัวย่อให้จำง่ายซึ่งก็คือ C O D E

ระบบนี้ youtuber ชื่อดัง Ali Abdaal เค้าก็ใช้นะ

มาว่ากันต่อว่า CODE มีอะไรบ้าง

  • C : Capture ก็คือการเอาเข้า ไม่ว่าจะเป็นการจด การถ่ายรูป อัดเสียง copy/paste
  • O : Organize จัดการ จัดระบบ
  • D : Distill สรุป กลั่นกรองให้ง่าย
  • E : Express เอาไปใช้งาน เผยแพร่

ซึ่งแต่ละตัวก็มีวิธีการของมันด้วย เช่น

วิธีการของ C : Capture

การ capture ก็มีหลายแบบ อันนึงที่สำคัญคือ การ capture ในสิ่งที่เราสนใจ หรือ โครงการที่จำทำ เช่น

  • การจัดเก็บ feedback / Testimonial จากลูกค้า
  • คำคมสำหรับการเขียนหนังสือ เขียนงานในอนาคต
  • เทมเพลตต่างๆ ที่น่าสนใจในอินเตอร์เน็ต วิดีโอที่สามารถใช้ในการสอนในอนาคต
  • คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เราตั้งใจจะเก็บไว้ทบทวน
  • แผนที่ที่ปกติต้องส่งให้ลูกค้าอยู่แล้ว เป็นประจำ

ขั้นตอนของ O : Organize ก็ถ้าจัดเก็บแบบดิจิตอล ก็มีคำแนะนำว่า ใช้หลัก PARA สำหรับการจัดระบบ Folder

P: Project โครงการงานที่มีเดทไลน์

A : Area หรือ เรื่องราวส่วนตัว เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน

R : Resource เช่น ข้อมูลที่เราอาจจะนำมาใช้เป็นครั้งคราว เช่น วิธีการจัดโต๊ะสัมมนาแบบต่างๆ หรือ อะไรที่เป็นสิ่งที่เราสนใจ ท่าการออกกำลังกายโยคะ สถานที่ท่องเที่ยว หนังสือที่เราชอบ

A : Archive เช่น สิ่งที่เคยจด หรือ ไฟล์ที่เลิกใช้แล้ว เราไม่ได้ต้องการแล้ว แต่ก็ไม่อยากทิ้ง ก็เก็บไว้ที่ Archive

ซึ่ง Folder เหล่านีัก็สามารถย้ายได้ เช่น จบ Project ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นๆ ได้

สร้าง Folder ตามหลัก PARA ใน Google Drive

แนวคิดทำ D: Distill หรือ สรุป สกัด กลั่นกรอง ก็คือ

อาจจะ ใช้หลักการ Atomic Note หรือ Progressive Summary

อันนี้ก็ไปหาอ่านกันดู หลักๆ คือ จดยังไงให้อนาคตเรากลับมาอ่านได้ง่าย เพราะอ.ธงชัยบอกว่า ให้คิดว่าเราในอนาคตน่าจะยุ่ง ไม่มีเวลามานั่งคัดสรรอะไรพวกนี้ขนาดนั้น และ ก็มี link อ้างอิงด้วยจะดีมาก

แนวคิดทำ E : Express คือ

คิดว่ามีคนรอที่จะรับการเรียนรู้จากเราอยู่ โดยที่เราไม่ต้องเก่งที่สุดก็เผยแพร่ผลงานได้ เช่น ตอนนี้เราก็มีความรู้เรื่อง Second brain ขึ้นมาจากการเรียน 6 ชม และ ดูคลิปบางอย่างเพิ่มเติม ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่ได้เป็น Master เรื่องนี้หรอก แต่งานเขียนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นแน่นอน

วันนี้ได้แนวคิดของ Second Brain และ ได้ลงมือปฏิบัติด้วย Mini Workshop ส่วนตัวเรา ได้เลือกแนวทางการจัด Folder ไว้ว่าจะทำให้ Google Drive เพราะว่าอยากให้ข้อมูลอยู่บน Cloud และ across ทุก Platform ไปเลย ไมว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรก็เข้าถึงได้หมด และ ไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้เราใช้ Chromebook ซึ่ง Cloud Based Operting system ก็น่าจะดีที่สุด

ส่วนในคลาส อาจารย์ก็ให้ใช้ตามที่เราถนัด และ ที่อาจารย์ดูชอบที่สุดคือ Obsidien ( ชื่อโปรแกรมมาจาก หินสีดำที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟ) ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษา และ ก็มีแอป Notion อีกแอปนึง ข้อดีของมันคือ #tag ได้ ซึ่งก็ต้องศึกษาอีกเช่นกัน

วิธีการสอนของอาจารย์ธงชัย มีกิจกรรมตลอดงาน และ ทำให้ผู้เรียนได้ตื่นตัว วันนี้ได้อยู่ในคลาสเรียนเกือบ 20 คน คนเรียนตั้งใจจริงจังมาก เพราะอยากจะทำ Pernonal Knowledge Management ให้ดีขึ้น คิดว่าน่าจะได้แนวคิดดีๆ จากอาจารย์ไป เหมือนที่เราได้มาเช่นกัน

ขอบคุณค่ะ

จารุณี สินชัยโรจน์กุล
เก๋ไก๋ไฮเทค ที่ปรึกษาการพัฒนาวิชาชีพครู Google Certified Innovator / Google Certified Trainer