เคยเห็นสมุดเรียนของนักเรียนที่เรียนที่สิงคโปร์ เป็นรูปภาพที่เหมือน Mind Map และ ก็สามารถเล่าถึงแผ่นภาพนั้นได้อย่างมั่นใจ คิดแล้วก็รู้ว่า เป็นการเรียนรู้ที่ช่วยทำให้มีการคิดเชื่อมโยง และ เป็นระบบมากขึ้น

วันนี้มีโอกาสได้เรียนกับ เจ้าแม่ Mind Map อาจารย์ใหม่ ลัดดาวัลย์ [Mai Mind Map] ทำให้รู้จัก Mind Map มากขึ้น อ.ใหม่เล่าว่าการจดแบบ Mind Map เป็นการช่วยให้ใช้สมองซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีขึ้นด้วย

แต่ละคนมาเรียน Mind Map อาจจะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน สำหรับตัวเรา :
-ทำให้ฝึกตัวเองให้สามารถคิดอย่างเป็นระบบได้ดีขึ้น และ ก็สังเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น
– จดการประชุม และ นำไอเดียที่จดไปใช้งานได้ดีขึ้น เช่น เอาไปทำสไลด์
โดยเฉพาะปัจจุบัน ข้อมูลก็เยอะเหลือเกิน
– เวลาคิดอะไรคนเดียว แล้วคิดไม่ออก ก็ว่าจะนำไปใช้แบบ แทน การคิดแบบ Bullet … อันนี้เพิ่งคิดหลังจากเรียน

ส่วนประโยชน์ในอนาคตของเรานการใช้ Mind Map – ถ้าเก่งๆ แล้ว ก็อาจจะเอาไปช่วยเรื่อง Divergent thinking คือ ไปใช้ในการระดมสมอง ในงานที่ต้องช่วยกันคิดกว้างขึ้น และ มีทางเลือกมากขึ้น องค์กรต่างๆ อาจจะพิจารณาเอาไปใช้ในการทำงาน ถ้ามีคนสามารถนำการระดมสมองแบบนี้ได้ อ.ใหม่ เล่าว่า ที่บริษัทผลิตเครื่องบิน เค้าก็ใช้วิธีการ Mind Map เพื่อระดมสมองและ หาทางเลือก

องค์ประกอบสำคัญของ Mind Map
– topic ของการจด
– ประเด็นหลัก
– ประเด็นรอง

สิ่งสำคัญของการจดแบบ Mind Map
– Framework มีเฟรมเวิร์คในหัว [ อันนี้ต้องฝึก ๆ เพื่อจะได้รู้จัก Framework ที่เหมาะสม เช่น จะเลือกอะไรมาเป็นประเด็นหลัก
—— Pro / Con
——5W1H เช่น What where when why how…
—–etc
หรือ ถ้าจดตามงานสัมมนา วิทยากร อาจจะมีประเด็นให้ เราก็จดตามหัวข้อที่วิทยากรจัดมาให้ อันนีก็ง่ายหน่อย เหมือนวันนี้ที่เราทำมาสำหรับสิ่งที่เรียนวันนี้ และ เมื่อวาน

ขอบคุณอ.ใหม่ ทีมงาน และ เพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกัน
วันนี้ได้รางวัลที่ 2 เป็นปลาหมึก (ปลาหมึกเหมือนเป็น Mascot ของการจดแบบ MindMap เพราะมันมีหนวดเหมือนกัน ) รางวัลนี้ได้จากการมีส่วนร่วมในการเรียน เป็นการเรียนที่ต้องตื่นตัวตอบคำถามมากเลย 555

#เก๋ไก๋ไฮเทค

จารุณี สินชัยโรจน์กุล
เก๋ไก๋ไฮเทค ที่ปรึกษาการพัฒนาวิชาชีพครู Google Certified Innovator / Google Certified Trainer