พอเล่าเรื่องเมื่อวานที่เก๋สะกดคำผิด และมีคนมาทัก
ทำให้เก๋นึกถึงสมัยวัยเรียน
ตอนนั้นเก๋เรียนม.ต้นอยู่ที่โรงเรียนพระหฤทัย คอนแวนต์

ครูภาษาไทยมาสอน และก็มีเรื่องเล่าด้วย
ครูสอนไปเรื่อยๆ ก็คงสอนถึงคำที่เขียนผิดบ่อยในภาษาไทย
เช่น
คำว่าอนุญาต จะไม่ใส่สระอิ
ครูเล่าว่า
สมัยก่อน เคยมีให้นักเรียนที่เขียนคำว่า อนุญาต ผิด เพราะเผลอใส่สระอิไป
ครูท่านนั้นก็เลยให้คัดลายมือ 30 รอบ แล้วให้มาหาครูที่ห้องพักครู
นักเรียนคนนั้นก็คัดอย่างดี สวยงาม……อนุญาต อนุญาต อนุญาต อนุญาต …… จนครบ 30 รอบ

พอคัดเสร็จก็เอาไปส่งครู แต่ครูไม่อยู่ห้อง ทำอย่างไรดีล่ะ ก็เลยตัดสินใจเขียนโน้ตเล็กๆ ให้ครู
“ขออนุญาติวางไว้ที่โต๊ะครูนะคะ”
จบข่าว
.
.
.
เขียนคำว่าอนุญาตผิด
สิ่งที่คัดมาทั้งหมด 30 ครั้ง
ไม่รู้หลังจากนั้นนักเรียนคนนั้นโดนคัดไปอีกเท่าไหร่
555

หลังจากที่ครูภาษาไทยเล่าเรื่องนี้จบ
เก๋จำคำนี้แม่นเลย อนุญาต ไม่มีสระอิ
เพราะเรื่องเล่าของครูแท้ๆ เลย

เรื่องเล่าเหล่านี้มีตัวละครที่ใกล้ตัวพวกเรา ช่วยทำให้เราได้เรียนรู้ไปโดยไม่รู้ตัวจริงๆ แถมพล็อตเรื่องก็ค่อนข้างใกล้กับชีวิตนักเรียนแบบเราๆ อีกด้วย ทำให้จำได้ง่ายเชียว

แล้วก็พลอยทำให้การเรียนรู้แบบอยากเรียน อยากรู้ ไปค้นหาเพิ่มว่ามีคำไหนอีกหนาที่คล้ายๆ คำว่าอนุญาต
พลอยให้จำคำอื่นๆ ที่ไม่มีสระอุได้ไปด้วย เช่น คำว่า สังเกต คนก็ชอบเติม สระอุ แต่จริงๆ จะไม่มีสระอุ

ใครมีเรื่องเล่าอะไรที่ช่วยให้นักเรียนจำได้ดีขึ้น ลองมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

#Day5
#21dayschallenge
#DigitalStorytelling
#เก๋ไก๋ไฮเทค

จารุณี สินชัยโรจน์กุล
เก๋ไก๋ไฮเทค ที่ปรึกษาการพัฒนาวิชาชีพครู Google Certified Innovator / Google Certified Trainer